เดี๋ยว
ร้อน เดี๋ยวหนาว อากาศแบบนี้ทำเอาหลายท่านป่วยเป็นหวัดไปตามๆ กัน
ซึ่งเทคนิคในการดูแลร่างกายไม่ใช่เรื่องยาก แต่คุณแน่ใจแล้วหรือยังว่า
การรับประทานอาหารในแต่ละวันนั้นถูกต้องตามหลักให้ห่างโรคร้าย
โรคหวัด
โรค
หวัดและอาการของโรคหวัดสามารถเกิดจากไวรัสหลากหลายสายพันธุ์
ไม่จำเป็นต้องเป็นชนิดใดชนิดหนึ่ง
จึงเป็นสาเหตุให้ไม่สามารถผลิตยารักษาโรคหวัดได้โดยตรง
รวมไปถึงสภาพของอาการที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วก็อาจทำให้มีอาการไอ จาม
คัดจมูก น้ำมูกไหลเกิดขึ้นได้แม้จะไม่ได้เป็นโรคหวัดก็ตาม
โดยทั่วไปอาการของโรคหวัดจะหายไปได้เองใน 3-7 วันขึ้นกับสุขภาพ
และภูมิคุ้มกันของแต่ละคนอาหารที่ดีจะช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันได้มาก
ซึ่งส่งผลให้ร่างกายสามารถกำจัดเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หลักในการให้โภชนบำบัดสำหรับโรคหวัดจึงเป็นการเลือกอาหารที่เสริมสร้างภูมิ
คุ้มกัน และลดการอักเสบที่เกิดขึ้น
อาหารที่เสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้
ดีเป็นอาหารที่หาได้ทั่วไป
แต่ต้องมีปริมาณที่เหมาะสมกับการบริโภคเพื่อให้ได้สารอาหารที่เพียงพอ
และไม่มากจนก่อให้เกิดโรคเสียเอง
สารอาหารเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและต้านการอักเสบ
วิตามินซี สามารถทำหน้าที่หลักเป็นสารต้านอนุมูลอิสระให้กับส่วนที่เป็น
น้ำ ในร่างกาย (เพราะละลายในน้ำ) ร่วมกับวิตามินอีซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในส่วนที่เป็น
ไขมัน ใน
ร่างกาย (เพราะละลายในน้ำมัน) และยังช่วยในการสร้าง (และกระตุ้นให้สร้าง)
คอลลาเจนให้กับผิวหนัง หลอดเลือด เหงือก และอวัยวะอื่นๆ
ดังนั้นการขาดวิตามินซี จึงเป็นสาเหตุหนึ่งในการเสื่อมสลายของคอลลาเจน
เมื่อคอลลาเจนในหลอดเลือดของเหงือกซึ่งเปราะบางมาก
สลายตัวจึงมีอาการออกมาให้เห็นเป็นโรคเลือดออกตามไรฟัน (Scurvy)
ในบางรายอาจมีอาการหลอดเลือดในโพรงจมูกแตกง่าย ทำให้มีเลือดกำเดาไหลบ่อยๆ
ได้เช่นกัน
แม้จะมีความเชื่อกันมานานว่า วิตามินซี ช่วยป้องกันและรักษาโรคหวัดได้ แต่ผลงานวิจัยในภายหลังยืนยันชัดเจนว่า
วิตามินซี
ไม่ได้ช่วยป้องกันและรักษาโรคหวัดได้
แต่ผลงานวิจัยไม่ได้เป็นข้อสรุปว่าเราไม่ควรจะต้องกินวิตามินซีเพียงแต่ได้
รับในปริมาณเล็กน้อย ก็เพียงพอแล้ว โดยระดับที่ควรรับประทานคือ มากกว่า 90
มก แต่ไม่เกิน 1000 มก ต่อวัน และไม่ควรทานเกินครั้งละ 500 มก
เพราะข้อจำกัดในการดูดซึมของวิตามินซีที่จะสามารถดูดซึมได้ดีเมื่อมีระดับ
วิตามินซีในอาหารต่ำๆ
และดูดซึมได้น้อยลงเมื่อมีปริมาณสูงขึ้นจึงไม่ควรรับประทานในปริมาณสูงๆ
เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองเงินโดยใช่เหตุ
อาหารตามธรรมชาติที่มีวิตามินซีอยู่เยอะคือ ผัก และผลไม้ ฝรั่ง มะเขือเทศ
ส้ม พริกที่สามารถรับประทานเนื้อได้เยอะๆ เช่น พริกหยวก พริกหนุ่ม พริกหวาน
เป็นต้น การรับประทานฝรั่ง 1 ผล พร้อมมะเขือเทศ 3-4
ลูกต่อวันก็จะได้รับวิตามินซีมากกว่า 90 มก ซึ่งเพียงพอแล้ว
วิตามินอี
ก็เป็นอีกสารอาหารหนึ่งที่สำคัญนอกเหนือจากการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
วิตามินอียังทำหน้าที่เสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานอย่างมี
ประสิทธิภาพ ทำให้สุขภาพโดยรวมแข็งแรง ระดับที่ต้องการคือไม่เกิน 200 ไอยู
อาหารตามธรรมชาติที่มีวิตามินอีอยู่เยอะคือ ตับ น้ำมันตับปลา
ถั่วเปลือกแข็ง เช่น วอลนัท อัลมอนด์ เป็นต้น
สังกะสี และ ซีลีเนียม
เป็นแร่ธาตุที่สำคัญในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
โดยสังกะสีเป็นแร่ธาตุที่ต้องใช้ในปฏิกิริยาต่างๆ ของร่างกายมากกว่า 200
ชนิด
ซึ่งรวมไปถึงการสร้างเม็ดเลือดขาวซึ่งเป็นทหารแนวหน้าในระบบภูมิคุ้มกัน
ลดการอักเสบที่เกิดขึ้นจากเชื้อโรค
รวมไปถึงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่เรียกว่าแอนติบอดีอีกด้วย
ส่วนซีลีเนียมเป็นแร่ธาตุสำคัญในการทำงานของระบบต้านอนุมูลอิสระของร่าง
กายอย่างกลูตาไธโอน
การขาดซีลีเนียมจึงทำให้เกิดอนุมูลอิสระเป็นจำนวนมากซึ่งก่อให้เกิดโรคร้าย
แรงอื่นๆ ตามมาได้อีก แต่อย่างไรก็ตามทั้งสังกะสี
และซีลีเนียมนั้นร่างกายมีความต้องการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
แต่ต้องการแบบต่อเนื่องเป็นประจำ ความต้องการสังกะสีและซีลีเนียมอยู่ที่ 12
มก และ 70 มก
ตามลำดับซึ่งการกินอาหารที่เป็นแหล่งของแร่ธาตุทั้งสองเพียงอาทิตย์ละ 3-4
ครั้งก็เพียงพอแล้ว แหล่งของสังกะสีและซีลีเนียมจะคล้ายๆ คือ
อาหารทะเลแทบทุกชนิด เนื้อสัตว์ส่วนที่ไม่มีมัน
ไขมัน
เป็นอีกสารอาหารหนึ่งที่อดกล่าวถึงไม่ได้เมื่อพูดถึงการลดการอักเสบ
กรดไขมันชนิดโอเมกา 3 และ โอเมกา 6 โดยกรดไขมันชนิดแรกเป็นตัวลดการอักเสบ
ส่วนชนิดหลังเป็นตัวกระตุ้นการอักเสบ
ดังนั้นจึงควรจำกัดปริมาณกรดไขมันโอเมกา 6 เหลือเพียง 1-2 ช้อนชาต่อวัน
แล้วเพิ่มปริมาณกรดไขมันโอเมกา 3 ให้เยอะขึ้นมากเป็น 3-5 กรัม
อาหารที่มีกรดไขมันโอเมกา 6 ได้แก่น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง
อาหารที่มีกรดไขมันโอเมกา 3 เยอะ ได้แก่ น้ำมันปลา
(น้ำมันตับปลาก็มีกรดไขมันโอเมกา 3
สูงแต่ต้องจำกัดปริมาณเพราะมีวิตามินเอสูงจนอาจเป็นพิษได้ถ้ารับประทาน
ปริมาณมาก) น้ำมันคาโนลา และวอลนัท จึงควรรับประทานเนื้อปลาที่มีไขมัน
เป็นประจำสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง โดยไม่ผ่านการทอดหรือผัด
(เพราะจะได้น้ำมันที่มีโอเมกา 6 เพิ่มขึ้น) และลดไขมันที่ได้จากสัตว์อื่นๆ
อย่างไขมันไก่ วัว หมู เป็ด ลงก็จะทำให้เราได้กรดไขมันโอเมกา 3
ที่มากพอแต่ปริมาณไขมันไม่สูงเกินไป
นอก
จากสารอาหารทั้ง 4 ตัวที่กล่าวมาข้างต้น
เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงและสมบูรณ์จึงควรได้รับสารอาหารอื่นๆ
ในปริมาณที่พอเหมาะด้วยเช่นกัน ทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน
วิตามินและแร่ธาตุอื่นๆ รวมถึงพลังงานเพื่อควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม
หากเกรงว่าจะไม่สามารถรับประทานได้ตามคำแนะนำ
การเลือกรับประทานอาหารเสริมชนิด มัลติวิตามิน ก็เป็นทางเลือกที่ดี
เพราะมีปริมาณที่เหมาะสม ราคาถูก แต่ไม่สามารถทดแทนการทานผักและผลไม้ได้
เพราะไม่มีใยอาหารและความอร่อยจึงควรรับประทานอาหารให้หลากหลายเสียก่อน
โดยสามารถขอคำแนะนำเพิ่มเติมเรื่องการเลือกซื้อได้จากนักกำหนดอาหาร หรือ
เภสัชกรประจำโรงพยาบาลได้เช่นกัน
ลิขสิทธิ์บทความของ e-magazine.info
ติดตามบทความ สุขภาพ หรืออ่าน แมกกาซีน
(ติดต่อขอใช้บทความที่ฝ่ายการตลาด)
ที่มาข้อมูล : www.e-magazine.info